เรารู้จักเอนไซม์ชีวภาพกันแล้วจาก บทความ ตอนที่ 1

และรู้จักประโยชน์ของเอนไซม์ จาก บทความ ตอนที่ 2

คราวนี้มาถึงตอนที่ 3 ที่เป็นตอนจบของบทความฉบับนี้กัน

คือ ขั้นตอนการผลิตเพื่อการบริโภคกัน

ขั้นตอนการผลิตเอนไซม์เพื่อการบริโภค

1.จัดเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย

ผลไม้หรือสมุนไพร : น้ำผึ้ง : น้ำสะอาด  ในอัตราส่วน 3 : 1 : 10

2.นำผลไม้มาทำความสะอาด ถ้าผลไม้ใหญ่ให้แบ่งเป็นชิ้นเล็ก แล้วใส่ในภาชนะตาม

อัตราส่วน  โดยเหลือพื้นที่ 1/5 ของภาชนะ เพื่อให้อากาศภายในมีการหมุนเวียน

3.ปิดฝาและทำประวัติติดข้างภาชนะดังนี้

  • ชนิดของผลไม้
  • วันเดือนปีที่ผลิต

4.เมื่อได้ระยะเวลา 3 เดือนแล้ว เกิดน้ำใส (Ionic plasma) ลอยตัว ให้ดูดออกด้วยสายยาง

แล้วนำมาขยายต่ออีก ทุกๆ 3 เดือน เป็นเวลา 3 ปี ในอัตราส่วน น้ำใส : น้ำผึ้ง : น้ำ   1 : 1 : 10

5.ตัวกากที่ก้นภาชนะหมักต่อไปในอัตราเดิม คือ

กากผลไม้ที่เหลือ : น้ำผึ้ง 1 ส่วน : น้ำสะอาด 10 ส่วน

6.เมื่อครบ 3 ครั้งแล้ว กากที่เป็นผงตะกอน ให้หมักในอัตราส่วน

กาก 1 ช้อนโต๊ะ : ผลไม้ 10 กก. : น้ำสะอาด 10 ส่วน

หมักจนได้น้ำใส แล้วเอามาต่ออีกเหมือนตอนต้นไปได้เรื่อย

การผสมเอนไซม์พร้อมดื่ม

1.เอนไซม์ 1 ปีขึ้นไป 1 ส่วน ต่อน้ำผึ้ง 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน นำมาผสมในภาชนะ

(ถ้าใช้น้ำผึ้งที่มีความชื้น 20% สามารถดื่มได้ทันที แต่น้ำผึ้งธรรมดาต้องหมักไว้ 3 เดือน จึงนำมาดื่มได้)

2.ถ้าไม่ดื่มจนทิ้งไว้ครบ 3 เดือน สามารถนำมาขยายต่อในอัตราส่วนเดิมได้อีก

คือ น้ำเอนไซม์ 1 ส่วน + น้ำผึ้ง 1 ส่วน + น้ำ 10 ส่วน ( เอนไซม์ที่นำมาขยายควรมีอายุ

การหมักตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เมื่อนำมาขยายแล้ว ประสิทธิภาพจะไม่ลดลง

แต่จะได้ปริมาณมากขึ้นและประหยัด)

ประเภทของผลไม้และสารอาหารที่ได้รับ

หมักผลไม้รสหวาน           ได้วิตามิน เอ ดี อี

หมัผลไม้รสเปรี้ยว             ได้วิตามินซี เค

หมักจากข้าว                    ได้วิตามิน บี ซี อี

การสังเกต

                                     วิตามินบี             จะมีกลิ่นเหม็นอมเปรี้ยว                                 

วิตามินซี             จะมีกลิ่นเปรี้ยว สีส้ม

วิตามินเค            จะมีสีแดง

วิตามินดี             จะมีกลิ่นหอม

วิตามินอี             จะมีสีใส

ข้อควรคำนึงในการนำเอนไซม์มาบริโภค

การนำเอนไซม์มาใช้เพื่อการบริโภคนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึง

1.ค่า PH ต่ำกว่า 4

2.ประจุไฟฟ้า 1,000 – 2,000 ไมโครซีเมนต์

3.ปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1 และไม่มีเมทธิลแอลกอฮอล์ ซึ่งแก้ได้โดยการผสมน้ำ

เพิ่ม 10 เท่า จะไม่มีแอลกอฮอล์

พลังงานในน้ำหมักผลไม้

การหมักผลไม้ น้ำผึ้ง และน้ำตามอัตราส่วน 3 : 1 : 10 จะทำให้เกิดการแตกตัวของ

สารอาหารอย่างรวดเร็ว จนเกิดประจุไฟฟ้าถึงระดับ 1,000 – 2,000 ไมโครซีเมนต์

ซึ่งโดยทั่วไป สารอาหารจะมีประจุไฟฟ้าไม่มากกว่า 80 – 100 ไมโครซีเมนต์

ดังนั้นการขับเคลื่อนของเสียในร่างกาย และการดูดซึมสารอาหารจึงจำเป็นต้องได้

สารอาหารที่มีการเหนี่ยวนำของประจุไฟฟ้าสูง จึงเกิดการสร้างสภาวะสมดุลของเคมี

ในร่างกาย

เมนู